FOSS4G Thailand 2022 is now Open register

ร่วมสร้างสรรค์ชุมชนแห่งการแบ่งปันความรู้ด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศให้แพร่หลายและยั่งยืน
ภายใต้หัวข้อเรื่อง ข้อมูลเปิดเพื่อให้เข้าถึงจากทุกคน

FOSS4G Thailand 2022

FOSS4G Thailand 2022

สัมมนาเชิงปฎิบัติการ Free And Open Source Software for Geospatial (FOSS4G) เป็นสมือนแหล่งชุมนุมของผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ นักคิด นักพัฒนา ด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและวงการที่เกี่ยวข้อง เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นและสร้างโอกาสและไอเดียใหม่ๆ โดยเนื้อหาในงานเปิดกว้างตั้งแต่การบูรณาการใช้งานโปรแกรมแบบอิสระ รวมถึงการประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านภูมิสารสนทเทศ การสัมมนานี้ทำให้เกิดความรู้ขึ้นอย่างมหาศาลเพื่อพัฒนาต่อยอดงานด้านภูมิสารสนเทศต่อไป

November 25 - 27, 2022 in อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สำหรับหน่วยงานที่ต้องการหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุม สามารถกรอกแบบฟอร์ม ได้ที่ Link นี้

Chairman
ประธานเปิดงาน FOSS4G Thailand 2022
รศ.ดร. สิรภัทร เชี่ยวชาญวัฒนา
คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์
คุณกานดาศรี ลิมปาคม
รองผู้อำนวยการ GISTDA
รศ.ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Keynote Speaker
ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจากแวดวงต่างๆ มาร่วมบรรยายในงานสัมมนา FOSS4G Thailand 2022
ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล
ผอ. อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Prof. Venkatesh Raghavan
Graduate School of Science, Osaka Metropolitan University
Dr. Nadine Alameh
CEO at Open Geospatial Consortium (OGC)
Hidenori Fujimura
Director, Planning Division, Geospatial Information Department
Dr. Joana Simoes
DevRel at Open Geospatial Consortium (OGC)
Nishant Nair
Head of Street View Expansion Operations, Google Maps
Junyoung CHOI
Research fellow, Center for data science, SIT
Jeff McKenna
President Emeritus of OSGeo
ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์
ผู้อำนวยการ สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ GISTDA
รศ.ดร. ศราวุฒิ นิลสวัสดิ์
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
ดร.ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล
ผอ.สำนักพัฒนาเทคโนโลยีกิจการอวกาศ GISTDA
ดร. ศานิต อรุณปลอด
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
ดร.อำนาจ คำศิริวัชรา 
ผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศทางสารสนเทศศาสตร์ชีวเวชและสาธารณสุข
ดร.สุกฤษฎิ์ เกิดแสง
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาอุตุนิยมวิทยา
ปภาวี ตั้งดวงดี
Data processing officer, MEA
พันโท ดร.สรวิศ สุภเวชย์
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์
อภิชิต ฤทธิกูล
นักอุตุนิยมวิทยาชำนาญการ กรมอุตุนิยมวิทยา
นววิทย์ พงศ์อนันต์
Data Scientist at Government Big Data Institute - GBDi
Thunyathep Santhanavanich
Research at Centre for Geodesy and Geoinformatics, HFT Stuttgart
กิจกรรม
การบรรยายพิเศษและการนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ชุดซอฟต์แวร์รหัสเปิดและการอบรมเชิงปฎิบัติการ

Track A – Main conference track


at Auditorium Room
Chairman : ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ และ ดร.ศราวุฒิ นิลสวัสดิ์

Chairman : ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ และ ดร.ศราวุฒิ นิลสวัสดิ์

08:30 am
Registration ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ที่หน้าอาคารอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
FOSS4G Thailand Team

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ที่หน้าอาคารอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

09:00 am
Open Ceremony : กล่าวเปิดการสัมมนากิจกรรมงาน FOSS4G Thailand 2022
รศ.ดร. สิรภัทร เชี่ยวชาญวัฒนา, คุณกานดาศรี ลิมปาคม และ ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ OSGeo Thiland Chairman

Open Ceremony : กล่าวเปิดการสัมมนา โดย
รศ.ดร. สิรภัทร เชี่ยวชาญวัฒนา คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์
คุณกานดาศรี ลิมปาคม รองผู้อำนวยการ GISTDA
ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ OSGeo Thiland Chairman

09:20 am
แนะนำสถานที่และบริการของ อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการส่งเสริมพื้นที่
ดร.อภิชัย วงษ์ศรีวรพล , ผู้อำนวนการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แนะนำสถานที่และบริการของ อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการส่งเสริมพื้นที่

09:40 am
แนะนำที่มาของการสร้างกลุ่ม OSGeo Thailand ภาระกิจ และ สมาชิก
ดร.ศราวุฒิ นิลสวัสดิ์ และ ผศ.ดร.พิพัธน์ เรืองแสง

แนะนำที่มาของการสร้างกลุ่ม OSGeo Thailand ภาระกิจ และ สมาชิก
โดย ดร.ศราวุฒิ นิลสวัสดิ์ OSGeo Thailand และ ผศ.ดร.พิพัธน์ เรืองแสง วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

10:00 am
Break & Networking : พักเบรกและทำความรู้จักผู้เข้าร่วมงานในช่วงเวลาเบรก
FOSS4G Thailand Team

พักเบรกและทำความรู้จักผู้เข้าร่วมงานในช่วงเวลาเบรก

10:30 am
Introductory talk on FOSS4G by Prof.Venkatesh Raghavan
Prof.Venkatesh Raghavan ,Graduate School of Science, Osaka Metropolitan University

Introductory talk on FOSS4G - 20 Years of FOSS4G

11:00 am
Open Geospatial Platform - SPHERE
ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ , ผู้อำนวยการ สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ
12:00 am
พักรับประทานอาหารเที่ยง ตามอัธยาสัย
FOSS4G Thailand Team
13:00 pm
Introducing National Space Data Center and its Service
ดร.ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล , ผอ.สำนักพัฒนาเทคโนโลยีกิจการอวกาศ
13:30 pm
Open Meteorological Data for All : ข้อมูลอากาศ และแผ่นดินไหว เพื่อประชาชน
ดร.สุกฤษฎิ์ เกิดแสง , ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาอุตุนิยมวิทยา
14:00 pm
Drought Analysis in Upper Northeast Thailand Using Standardized Precipitation Index and Normalized Difference Vegetation Index
คุณอภิชิต ฤทธิกูล , นักอุตุนิยมวิทยาชำนาญการ กรมอุตุนิยมวิทยา

Drought Analysis in Upper Northeast Thailand Using Standardized Precipitation Index and Normalized Difference Vegetation Index

14:30 pm
Break & Networking : พักเบรกและทำความรู้จักผู้เข้าร่วมงานในช่วงเวลาเบรก
FOSS4G Thailand Team

พักเบรกและทำความรู้จักผู้เข้าร่วมงานในช่วงเวลาเบรก

15:00 pm
MEA Open Data
คุณปภาวี ตั้งดวงดี , นักประมวลผลข้อมูล การไฟฟ้านครหลวง
15:30 pm
National Vaccine Open Data
ดร.อำนาจ คำศิริวัชรา , ผุ้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศทางสารสนเทศศาสตร์ชีวเวชและสาธารณสุข (BIOPHICS)
16:00 pm
Open Government Data of Thailand
คุณนววิทย์ พงศ์อนันต์ , ผู้เชี่ยวชาญงานพิเศษด้านข้อมูลระดับสูง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล / สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข.)

Open Government Data of Thailand ผู้เชี่ยวชาญงานพิเศษด้านข้อมูลระดับสูง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล / สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข.)

16:30 pm
Thailand Agricultural Data Collaboration Platform (THAGRI)
คุณวงษ์นเรศ ​ขันธุวาร , Research Assistant, NECTEC

Thailand Agricultural Data Collaboration Platform (THAGRI) ทีมวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนอกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

17:00 pm
ระบบแสดงผลข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำ เพื่อวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำของประเทศ
ดร. ปิยมาลย์ ศรีสมพร , หัวหน้างานแบบจำลอง, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

ระบบแสดงผลข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำ เพื่อวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำของประเทศ โดย ดร. ปิยมาลย์ ศรีสมพร, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

17:30 pm
Today Brief
FOSS4G Thailand Team

Track B – International track


at Meeting Room 3
Chairman : ดร.ศรัณย์ อภิชนตระกูล

Chairman : ดร.ศรัณย์ อภิชนตระกูล

13:00 pm
FOSS4G Asia 2023 and how OSGeo communities can help
Dr. Junyoung Choi , OSGeo Charter Member & Korean Chapter Member.

FOSS4G Asia 2023 and how OSGeo communities can help

13:30 pm
On the Rises of Digital Twin using Open Standards
Thunyathep Santhanavanich , Research at Centre for Geodesy and Geoinformatics, HFT Stuttgart

On the Rises of Digital Twin using Open Standards

14:00 pm
Supporting the expansion of geospatial everywhere with open standards and collaboration
Nadine Alameh , CEO at Open Geospatial Consortium (OGC)

Supporting the expansion of geospatial everywhere with open standards and collaboration

14:30 pm
Break & Networking : พักเบรกและทำความรู้จักผู้เข้าร่วมงานในช่วงเวลาเบรก
FOSS4G Thailand Team

พักเบรกและทำความรู้จักผู้เข้าร่วมงานในช่วงเวลาเบรก

15:00 pm
Introduction to Vector Tile
Hidenori Fujimura (OSGEO JP) ,Director, Planning Division, Geospatial Information Department

UN Vector Tiles the use caes

16:00 pm
How Street View Helps Google Build More Helpful & Immersive Maps
Nishant Nair ,Head of Street View Expansion Operations, Google Maps

How Street View Helps Google Build More Helpful & Immersive Maps

16:30 pm
OGC and OSGeo - a match made in heaven
Dr. Joana Simoes , DevRel at Open Geospatial Consortium (OGC) & OSGeo Spain

OGC and OSGeo - a match made in heaven

17:00 pm
Fast as a Cheetah! The State of the MapServer Project
Jeff McKenna , Co-founder of FOSS4G, Director of GatewayGeo

Fast as a Cheetah! The State of the MapServer Project

Track C - Application track


at Meeting Room 5
Chairman : ดร.ศานิต อรุณปลอด และ ประสงค์ ปทีปเพิ่มพงศ์

Chairman : ดร.ศานิต อรุณปลอด และ ประสงค์ ปทีปเพิ่มพงศ์

13:00 pm
Geospatial Data Immersive
คุณชีวิน ศิริศักดิ์ และคุณศุภมรรษ จิตรเจริญ , CEO ERECTRUS
13:30 pm
Building and supporting open source communities through metrics
Mishari Muqbil CEO at Zymple

ชุมชนโอเพ่นซอร์สแต่ละแห่งจะมีความแตกต่าง ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีตัว วัดสำหรับการสร้างและรองรับชุมชนที่ต่างกัน CHAOSS Project ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อส่งเสริมชุมชนโอเพ่นซอร์สผ่านการกำนดและเฝ้าสังเกตุตัววัดที่เหมาะสมสำหรับชุมชนนั้นๆ ซึ่งทางเราได้เก็บข้อมูลผ่านการหารือกับผู้สมทบ (contributor) จากโครงการโอเพ่นซอร์สที่หลากหลาย
ในการนำเสนอในครั้งนี้ ผมจะแบ่งปันสิ่งที่เราได้เรียนรู้ในโครงการ CHAOSS เกี่ยวกับการมีตัววัดสำหรับชุมชนโอเพ่นซอร์ส หลังจากที่ตัดสินใจเลือกตัววัดที่เหมาะสมแล้ว เราจะต้องเอาชนะความท้าทายต่างๆ ทั้งด้านเทคนิคและองค์กร ซึ่งผมจะนำเสนอถึงวิธีการดำเนินการ สุดท้าย การบรรยายนี้จะยกตัวอย่างจากโลกแห่งความเป็นจริง ว่าสามารถใช้ตัววัดอย่างไรได้บ้างเพื่อช่วยสร้างและสนับสนุนชุมชนโอเพ่นซอร์สอย่างมีประสิทธิภาพ

14:00 pm
การศึกษาการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณประเทศไทยโดยใช้ GNSS
คุณสนธยา รัตนบุรี , นักอุตุนิยมวิทยาชำนาญการ กรมอุตุนิยมวิทยา

การศึกษาการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณประเทศไทยโดยใช้ GNSS

30 Minute Meeting Room 5, อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
14:30 pm
Break & Networking : พักเบรกและทำความรู้จักผู้เข้าร่วมงานในช่วงเวลาเบรก
FOSS4G Thailand Team

พักเบรกและทำความรู้จักผู้เข้าร่วมงานในช่วงเวลาเบรก

15:00 pm
Oil Palm Smart Farming and Management using Free and Open Source Software (FOSS) solutions
ดร. ศานิต อรุณปลอด , สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

Oil Palm Smart Farming and Management using Free and Open Source Software (FOSS) solutions

15:45 pm
GeoSpatial Digital Asset with Non-Fungible Token
คุณประสงค์ ปทีปเพิ่มพงศ์ , กรรมการผู้จัดการ i-bitz company limited
16:30 pm
Cloud Based Remote Sensing
พันโท ดร.สรวิศ สุภเวชย์
17:00 pm
การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อสนับสนุนงานด้านอุตุนิยมวิทยา
คุณโอลัน น้าวไกรศร , นักอุตุนิยมวิทยาชำนาญการ กรมอุตุนิยมวิทยา

การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อสนับสนุนงานด้านอุตุนิยมวิทยา

30 Minute Meeting Room 5, อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
17:45 pm
Welcome Party and Networking
FOSS4G Thailand Team

FOSS4G Party Night & Networking - by GISTDA

Party Night เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราใกล้ชิดกันมากขึ้น OSGeo Thailand อยากให้ทุกคนมาทำความรู้จักกันในคืนวันที่ 25 พฤศจิกายน ที่บริเวณชั้น 1 อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รูปแบบของงาน
  • เป้าหมายเพื่อพบปะ พูดคุย ประสาผู้ใช้งาน ผู้พัฒนา GIS Open Source ในประเทศ
  • อาหารและเครื่องดื่มผู้จัดงานได้เตรียมให้แก่ผู้เข้างาน
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้างาน
แล้วเราจะเจอใครบ้างในงานคืนนั้น
  • ทีมงาน OSGeo Thailand, OSGeo Japan, OSGeo Korea
  • วิทยากร และ ผู้บรรยายใน Workshop
  • และคุณ ที่เราอยากพบเจอ และแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน เพื่อช่วยวางแนวทางของ OSGeo Thailand ต่อไป

Workshop Track A


at Auditorium Room
07:30 am
Registration ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Workshop
FOSS4G Thailand Team

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Workshop

09:00 am
WS00 : GISTDA Open Data & Sphere
ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ / นายภัทราวุฒิ ภู่ทอง/ นางสาวดลพร พิมพิชัย

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 20 คน

วิทยากร :ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ / นายภัทราวุฒิ ภู่ทอง/ นางสาวดลพร พิมพิชัย

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัวพร้อมเน็ต มีพื้นฐานภาษาจาวาสคริปต์ การใช้งาน Web Service / APIs

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : QGIS, Postman, VSCode

เนื้อหาการอบรม :

Sphere เป็นแหล่งรวบรวมและเครื่องมือและข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้บริการผ่านการเชื่อมโยงด้วย API เพื่อรองรับการพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือบริการด้านข้อมูลเชิงพื้นที่ในรูปแบบต่าง ๆ โดยมุ่งหวังให้ นักพัฒนาและ startup เข้าถึงข้อมูลเชิงพื้นที่ของประเทศไทยได้โดยง่ายและนำไปพัฒนา Solution ให้หลากหลาย และใน work shop ท่านจะได้รู้จัก sphere ในมุมของนักพัฒนา พบกับ

  • Map APIs for JavaScript
  • WebServices เช่น ชั้นความสูงภูมิประเทศเชิงเลข, ข้อมูลด้านเกษตร, ข้อมูลด้ายภายพิบัติ, การค้นหาสถานที่
  • การใช้งานแผนที่ฐาน sphere บน QGIS

12:00 am
รับประทานอาหารกลางวัน จัดเตรียมโดยผู้จัดงาน
FOSS4G Thailand Team

รับประทานอาหารกลางวัน จัดเตรียมโดยผู้จัดงาน

60 Minute Auditorium, อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
13:00 pm
WS06 : Building Geospatial data immersive from Spatial
คุณชีวิน ศิริศักดิ์ คุณศุภมรรษ จิตรเจริญ และ คุณพงศกร อุดมบัว

.

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 250 คน

วิทยากร : คุณชีวิน ศิริศักดิ์ คุณศุภมรรษ จิตรเจริญ และ คุณพงศกร อุดมบัว

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก, แท็บเล็ต หรือ สมาร์ตโฟน

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : Spatial.io, Blender (optional)

เนื้อหาการอบรม :

การใช้งาน Spatial.io กับข้อมูลเชิงพื้นที่ ทำความเข้าใจและทดลองใช้เทคโนโลยี VR/AR ผ่านอุปกรณ์ และ Software เช่น  Spatial.io, Blender 

ผู้เข้าอบรมในห้องนี้จะสามารถร่วมลุ้นรางวัลจาก บริษัท Erectrus เป็น Oculus Quest 2  จำนวน 1 รางวัล 

16:00 pm
WS12: QGIS Plugins for developer
อานนท์ เบียงเล, GIS Backend Developer, i-bitz company limited

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 30 คน

วิทยากร :อานนท์ เบียงเเล, GIS Backend Developer, i-bitz company limited

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัวพร้อมอินเทอร์เน็ต ผู้เข้าอบรมต้องมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม QGIS เบื้องต้น

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : QGIS เวอร์ชันมากกว่า 3.0 , QT designer, Visual Studio Code, Python เวอร์ชันมากกว่า 3.0

เนื้อหาการอบรม :

Quantum GIS หรือ QGIS คือโปรแกรมประเภทจัดการข้อมูล GIS (Geographic Information System) โปรแกรมหนึ่ง ซึ่งมีส่วนติดต่อผู้ใช้เป็นแบบกราฟิก (Graphic User Interface: GUI) ที่เข้าใจและใช้งานง่าย QGIS ถูกพัฒนาขึ้นมาภายใต้สัญญาอนุญาตแบบเปิดเผยโค้ด (Open source) ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้อย่างไม่มีข้อจ ากัด อีกทั้งยังสามารถนำโค้ดไปพัฒนาต่อได้อีกด้วยแต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาแบบเปิดเผยโค้ดมีข้อจำกัดที่ทิศทางการพัฒนาจะถูกวางไว้อย่างกว้าง ๆ เท่านั้น โดยปกติโปรแกรมประเภทนี้จึงมักมีความสามารถกว้าง ๆ คือทำได้แทบทุกอย่างที่โปรแกรมในท้องตลาดทั้งหมดมี แต่ฟังก์ชันแต่ละอย่างอาจไม่มีประสิทธิภาพสูงมากนัก QGIS Plugins มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม QGIS ทำให้นักพัฒนาสามารถเพิ่มฟังก์ชันต่างๆ นอกเหนือจากที่โปรแกรมมีให้ จากการติดตั้ง QGIS Plugins เพิ่มเติมจากนักพัฒนาคนอื่นหรือพัฒนาขึ้นเองตามฟังก์ชันงานที่เราต้องการ และสามรถแบ่งปันให้ผู้ใช้งานโปรแกรมคนอื่นๆได้ด้วย โดยใน Workshop นี้เน้นการที่ผู้เข้าร่วมทุกคนเข้าใจขั้นตอนการสร้าง QGIS Plugins ออกแบบ UI ของ QGIS Plugins และสามารถพัฒนาฟังก์ชันงานที่ต้องการออกมาเป็น QGIS Plugins ของตัวเองบนโปรแกรม QGIS ได้

Workshop Track B


at Meeting Room 1
07:30 am
Registration ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Workshop
FOSS4G Thailand Team

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Workshop

09:00 am
WS01: Spatial Database and GeoDataFrame for Geospatial Bigdata Analytics
ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ , คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 30 คน

วิทยากร : รองศาสตราจารย์ ดร ไพศาล สันติธรรมนนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัวพร้อมเน็ต คีย์บอร์ด และอินเตอร์เน็ต  มึความคุ้นเคยภาษาไพธอน กรณี คอมพิวเตอร์พร้อมระบบปฏิบัติการวินโดว์ ให้ติดตั้ง WSL2 + Ubuntu สำหรับ MacOS จะเป็น UNIX-compliant อยู่แล้ว

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : Point Data Abstraction Library (PDAL), Python/Panda/GeoDataFrame/Sklearn.Cluster.DBSCAN

เนื้อหาการอบรม :

ปัจจุบันข้อมูลบิ๊กเดต้ามีแพร่หลายครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย เช่น ข้อมูลประชากรศาสตร์กริด 30 เมตร ข้อมูลฐานรอยพิมพ์อาคารกว่า 24 ล้านหลัง ข้อมูลจุดความร้อนรายวันอันอาจเกิดจากไฟป่าและการเผาในที่โล่งNASA-FIRMS ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินและปลกคลุมดินกริด 10 เมตร  ข้อมูลการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในรอบ 7 ปีจากเรดาร์อินซาร์ เป็นต้น ข้อมูลบิกเดต้าเหล่านี้สามารถเข้าถึงและประมวลผลผ่าน Platform-as-a-Service และเรียกดาวโหลดโดยตรง เครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บ ประมวล ส่งออกไปยังซอฟต์แวร์นำเสนอให้เห็นเป็นภาพหรือแผนที่มีให้เลือกใช้มากมาย ในการอบรมในครั้งนี้จะกล่าวถึงการประยุกต์ใช้ Spatial Database and DeoDataFrame โดยการวิเคราะห์จะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ Simple Feature SQL (SF-SQL) และภาพ Python ผ่านโมดูล GeoDataFrame ผู้อบรมจะได้เรียนรู้วิธีการเข้าถึงข้อมูลบิ๊กเดต้า และวิเคราะห์ด้วยสคริปส์ SF-SQL และ GeoDataFrame และการวิเคราะห์ด้วย MachineLearnling/DBScan ในเบื้องต้นอีกด้วย

 

12:00 am
รับประทานอาหารกลางวัน
FOSS4G Thailand Team

รับประทานอาหารกลางวัน จัดเตรียมโดยผู้จัดงาน

13:00 am
WS07 : Point-Cloud Processing using FOSS PDAL/Python Script
ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ , คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 30 คน

วิทยากร : รองศาสตราจารย์ ดร ไพศาล สันติธรรมนนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัวพร้อมเน็ต คีย์บอร์ด และอินเตอร์เน็ต  มึความคุ้นเคยภาษาไพธอน กรณี คอมพิวเตอร์พร้อมระบบปฏิบัติการวินโดว์ ให้ติดตั้ง WSL2 + Ubuntu สำหรับ MacOS จะเป็น UNIX-compliant อยู่แล้ว

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : Point Data Abstraction Library (PDAL), Python/Panda/GeoDataFrame/Sklearn.Cluster.DBSCAN

เนื้อหาการอบรม :

ปัจจุบันข้อมูลพ็อยคลาวสามารถผลิตได้จากเลเซอร์สแกนทางอากาศ (Airborne Laser Scanning: ALS) , เลเซอร์สแกนจากยูเอวี (UAV Laser Scanning : UAV) และการประมวลผลเอสเอฟเอ็มจากการบินทึกภาพยูเวอี ( SfM from UAV Photogrammetry) ในช่วงปีที่ผ่านมายังการผลิตพ็อยคลาวจากยูเอวีและจากเลเซอร์แสกนโดยตรงมีเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากอุปกรณ์เลเซอร์สแกนติดยูเอวีได้มีราคาถูกลงระดับราคาต่ำกว่าหนึ่งล้านบาท อีกทั้งจำนวนยูเอวีติดกล้องถ่ายภาพทางอากาศมีจำนวนที่จดทะเบียนในสำนัการบินพลเรือนกว่า 70,000 ลำ (สิงหาคม 2565)  ส่วนใหญ่มีศักยภาพในการผลิตพ็อยคลาวเพื่อทำแผนที่สามมิติทั้งสิ้น

ซอฟต์แวร์ FOSS4G มีให้เลือกใช้จำนวนหนึ่ง ในการฝึกอบรมได้คัดเลือกกลุ่มซอฟต์แวร์สำหรับประมวลผลพ็อยคลาวเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในครั้งนี้ผู้รับการฝึกอบรมจะได้ฝึกการใช้ซอฟต์แวร์ PDAL ในการประมวลพ็อยคลาวผ่าน pipe-line และสำหรับการประมวลขั้นสูงสามารถใช้ไพธอนสคริปส์อ่านเข้าไปประมวผลและเลือกใข้โมดูลจากไพธอนช่วยในการประมวลผลในแนวทาง MachineLearning เช่น RANSAN และ DBSCAN ในการฝึกอบรมนี้จะได้ศึกษาตัวอย่างการประยุกต์ใช้ เช่นการประเมินตรวจสอบติดแผงโซลาเซลล์ การวิเคราห์จำแกนสายเคเบิ้ลสายส่งไฟฟ้าศักย์สูง การวิเคราะห์การตกท้องช้างของสายส่งไฟฟ้าศักย์สูง 
 

16:00 pm
WS13: Walking in 3D Map
ศิริวัฒน์ สุทธิปัญโญ , Mobile Application Developer, i-bitz company limited

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 20 คน

วิทยากร :ศิริวัฒน์ สุทธิปัญโญ , Mobile Application Developer, i-bitz company limited

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัว มีความคุ้นเคยภาษา Javascript

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : NodeJS

เนื้อหาการอบรม :

สร้าง Mini-game โดยมีตัว Avatar ที่สามารถควบคุม เช่น เดินหรือวิ่ง ไปบนแผนที่สามมิติที่พัฒนาขึ้นจาก 3D Geospatial Open source library (CesiumJS) รวมไปถึงการกำหนดแสงและเงาจากตำแหน่งจริงบนพื้นโลก

90 Minute Meeting Room 1, อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Workshop Track C


at Meeting Room 2
07:30 am
Registration
FOSS4G Thailand Team

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Workshop

09:00 am
WS02 : SanitBox Drone Image Processing Services by WebODM
ดร. ศานิต อรุณปลอด , สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 20 คน

วิทยากร :ดร. ศานิต อรุณปลอด , สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัว + ภาพอากาศยานไร้คนขับไม่เกิน 200 ภาพ (ถ้ามี)

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : OpenDroneMap on sanitbox server + Internet Browser( Chrome/Firefox/Safari) +QGIS

เนื้อหาการอบรม :

OpenDroneMap (ODM) เป็นซอฟต์แวร์รหัสเปิดตัวนึงสำหรับงานทางด้านการรังวัดจากภาพถ่าย และการทำแผนที่จากอากาศยานไร้คนขับ(โดรน) ซึ่งเริ่มใช้อย่างแพร่หลายตั้งแต่ปี 2013 โดยมีการพัฒนาจากภาษา Go, Python, JavaScript และ C++ โดยในยุคแรกของ OpenDroneMap นั้นเครื่องมือและการใช้งานต่างๆอยู่ในลักษณะการสั่งงานในรูปแบบของ Command Line Toolkit หรือเป็นชุดเครื่องมือโอเพนซอร์สสำหรับการประมวลผลภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ จากนั้นได้มีเครื่องมือที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาร่วมในการควบคุมสำหรับการใช้งานในรูปแบบ User Interface จึงมีชื่อว่า WebODM โดยมีปุ่มและเครื่องมือต่างๆหรับสำหรับการสั่งการประมวลผล รวมถึงการตั้งค่าต่างๆ ในการประมวลผลด้วย จึงง่ายต่อการใช้งานมากและแพร่หลายอย่างมากขึ้น โดยผู้ใช้งานเพียงเข้าถึงโดยผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า WebODM สามารถติดตั้งไว้ในเครื่อง Server สำหรับประมวลผลส่วนกลางและให้ผู้ใช้งานเข้ามาใช้งานและประมวลผลได้ผ่านระบบ internet เท่านั้น สำหรับส่วนการศึกษา ณ ปัจจุบันมีการใช้งานการประมวลผลภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับอย่างแพร่หลาย แต่ปัญหาที่มักพบบ่อยคือ เครื่องประมวลผลส่วนตัวของนิสิตและนักศึกษา สำหรับการใช้งานและการวิจัยนั้นไม่เพียงพอต่อการประมวลผลภาพขนาดใช้งานจริงได้ ดังนั้นทางสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยการสนับสนุนด้าน Hardware จาก ดร.ศานิต อรุณปลอด จึงได้เปิดระบบ WebODM on Premise ภายใต้ Domain : sanitbox ให้นิสิต/นักเรียน/นักศึกษา เข้าใช้งานได้ฟรี ได้ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ในส่วนของเนื้อหา Workshop จะมีการแนะนำการใช้งาน WebODM by Sanitbox ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • แนะนำ WebODM
  • การสร้าง Project และการอัพโหลดข้อมูล
  • การสร้างไฟล์ GCP
  • แนะนำการใช้งานในส่วนของ Orthophoto, Vegetation Index, DSM, DTM
  • การแสดงผลแบบ Point Cloud 3 มิติ
  • การแชร์ผลงานเข้าสู่ openaerialmap.org

12:00 am
รับประทานอาหารกลางวัน
FOSS4G Thailand Team

รับประทานอาหารกลางวัน จัดเตรียมโดยผู้จัดงาน

13:00 pm
WS08 : การพัฒนา IoT สำหรับระบบ Smart Home and Smart Farming ด้วย ESP8266
ดร.สิทธิชัย ชูสำโรง , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 15 คน

วิทยากร : ดร.สิทธิชัย ชูสำโรง , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน๊ตบุ๊คส่วนตัว อินเทอร์เน็ต สายMale Micro USB B Cable (สายชาร์ตแอนดรอยที่ไม่ใช้ type C)

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : Arduino IDE

เนื้อหาการอบรม :

ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Thing : IoT) ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับหลายสิ่งหลายอย่างทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ Smart Farming, Smart City ฯลฯ เพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการที่แตกต่างกันไป เซนเซอร์ต่างในปัจจุบันสามารถนำมาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Sensor Network) เพื่อเพิ่มความสามารถในการสำรวจหรือควบคุมจากระยะไกลผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น LINE Notify, Node-RED, MQTT ฯลฯ ความสามารถหลักๆ ของระบบไอโอทีคือ ทำหน้าที่สำรวจ (Monitor) และควบคุม (Control) ขึ้นอยู่กับการเอาไปประยุกต์ใช้ที่แตกต่างกันไป การอบรมครั้งนี้ จะเป็นการสอนตั้งแต่พื้นฐาน การติดตั้งโปรแกรม การเพิ่ม library ทำความรู้จักกับบอร์ดต่างๆ จากนั้นจะอธิบายโครงสร้างส่วนประกอบของบอร์ด ส่วนเชื่อมต่อ ไฟ สายดิน และสายข้อมูลต่างๆ จากนั้นจะทำการทดสอบการต่อวงจร การอ่านค่าจากเซนเซอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ และการทดลองสร้างเงื่อนไขในการควบคุมอุปกรณ์ไฟอย่างง่าย หลังจากนั้นจะสอนทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์เซนเซอร์กับอินเทอร์เน็ต สำหรับการส่งข้อมูลการแจ้งเตือนผ่าน LINE Notify และสุดท้ายจะสอนการเชื่อมต่อกับ MQTT และแสดงผลแบบเรียลไทม์บน Node-RED

ผู้เข้าร่วมอบรมในห้องนี้ สามารถร่วมลุ้น Industrial IoT Gateway,  Dell Gateway 5000 จำนวน 1 รางวัล

180 Minute Meeting Room 2, อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
16:00 pm
WS014 : Being OSM Contributor with JOSM
ธรณ์​ ศรี​นิกร​ GIS Analyst, i-bitz company limited

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 20 คน

วิทยากร :ธรณ์ ศรีนิกร, GIS Analyst, i-bitz company limited

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัว และ Mouse พร้อมอินเตอร์เน็ต

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : JOSM

เนื้อหาการอบรม :

OSM (OpenStreetMap) เปิดช่องทางให้ทุกคนสามารถเข้ามาร่วมต่อเติมแผนที่ในพื้นที่ที่ยังไม่มีข้อมูล ให้แผนที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ และผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลแผนที่สามารถนำ OSM ไปใช้ได้ฟรี การอบรมครั้งนี้จะกล่าวถึงการสร้างแผนที่ OSM ด้วยโปรแกรม JOSM การสร้างวัตถุต่างๆตามภาพถ่ายดาวเทียมและหลักการในการตั้งแท็กสำหรับแต่ละวัตถุ และรู้จักกับแพลตฟอร์ม TM (Tasking Manager) ที่ช่วยจัดการงานให้กับอาสาสมัครมาช่วยสร้างแผนที่

Workshop Track D


at Meeting Room 3
07:30 am
Registration
FOSS4G Thailand Team

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Workshop

09:00 am
WS03 : QGIS For Everyone
ดร.วาสนา พุฒกลาง วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 20 คน

วิทยากร : ดร.วาสนา พุฒกลาง วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัว

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : QGIS

เนื้อหาการอบรม :

QGIS โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะประเภทข้ามแพลตฟอร์มที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนซอร์ส ซึ่งสนับสนุนการแสดงผล การแก้ไข และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ในบทเรียนนี้ท่านจะได้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ GIS, การสร้างชั้นข้อมูลพร้อมออกแบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่, การสืบค้นข้อมูล, การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่, การแสดงผลข้อมูลและการจัดทำแผนที่ ด้วยโปรแกรม QGIS

 

12:00 am
รับประทานอาหารกลางวัน
FOSS4G Thailand Team

รับประทานอาหารกลางวัน จัดเตรียมโดยผู้จัดงาน

13:00 pm
WS09 : JavaScript GIS
ดร.กัมปนาท ปิยะธำรงชัย , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 20 คน

วิทยากร : ดร.กัมปนาท ปิยะธำรงชัย , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัวพร้อมเน็ต คีย์บอร์ด และอินเตอร์เน็ต

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : Visual Studio Code, Chrome, Firefox หรือ Edge Browser

เนื้อหาการอบรม :

  • เกี่ยวกับภาษาจาวาสคริปต์ (Javascript)
  • หลักการโปรแกรมด้วยภาษาจาวาสคริปต์เบื้องต้น ตัวแปร ตัวดำเนินการในโปรแกรม คำสั่งเงื่อนไข การวนลูป และฟังก์ชัน
  • อาร์เรย์ ดิกชันนารี และออบเจ็กต์
  • โครงสร้าง GeoJSON กับการเก็บข้อมูลภูมิสารสนเทศ และการโปรแกรมเพื่อประมวล GeoJSON
  • การทำแผนที่ออนไลน์ด้วย Leaflet.js
  • การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วย Turf.js

16:00 pm
WS15 : GeoNode
รศ.ดร. ศราวุฒิ นิลสวัสดิ์ , สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 10 คน

วิทยากร :รศ.ดร. ศราวุฒิ นิลสวัสดิ์ , สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัว

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : ติดตั้งโปรแกรม VirtualBox และ OSGeoLive VM (จะแจกให้ในวันที่ 25 พย 2565)

เนื้อหาการอบรม :

โปรแกรม Geonode เป็น open source software ในการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ในรูปแบบเดียวกับ Content Management System (CMS) จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการใช้งานเพื่อพัฒนาระบบ Spatial Data Infrastructures (SDI) ภายในองค์กร โดยมีเครื่องมือที่เหมาะสมประกอบด้วย ส่วนนำเข้าข้อมูล การค้นหาข้อมูลด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ การกำหนดกลุ่มผู้ใช้งาน การกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล การจัดทำแผนที่จากข้อมูลในระบบ SDI เป็นต้น ในการอบรมครั้งนี้จะเป็นการแนะนำเบื้องต้นในส่วนโครงสร้างของระบบ Geonode องค์ประกอบในส่วนต่าง ๆ การนำเข้าข้อมูล การค้นหาข้อมูล การกำหนดกลุ่มผู้ใช้งานและการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล และการจัดทำแผนที่

Workshop Track E


at Meeting Room 5
07:30 am
Registration
FOSS4G Thailand Team

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Workshop

09:00 am
WS04 : การพัฒนาระบบ Visualization ด้วย Application Module บน GISTDA National Space Data Platform
นายรัฐวัชร์ วสุหิรัณยฤทธิ์ และ นายธนวัฒน์ ปรีชาโชติ , GISTDA

 

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 50 คน

วิทยากร : นายรัฐวัชร์ วสุหิรัณยฤทธิ์ และ นายธนวัฒน์ ปรีชาโชติ , GISTDA

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัวพร้อมเน็ต คีย์บอร์ด และอินเตอร์เน็ต

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : Google Earth, GPX Editor

เนื้อหาการอบรม :

ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น การประยุกต์ใช้ในด้านงานด้านการสำรวจ งานรังวัด งานด้านวิศวกรรม งานด้านคมนาคมขนส่ง งานด้านเกษตรอัจฉริยะ หรืองานวิจัย แต่ด้วยความที่ดาวเทียมแต่ละดวงมีคุณสมบัติที่ต่างกันทางด้านรายละเอียดจุดภาพ ซึ่งจะแบ่งประเภทของภาพของดาวเทียมไปในการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป แต่ด้วยการเข้าถึงข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแต่ละดวงมีความซับซ้อน เนื่องจากต้องผ่านการให้บริการของแพลตฟอร์มที่ต่างกัน จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านอวกาศแห่งชาติ (National Space Data Center : NSDC) ศูนย์ข้อมูลด้านอวกาศแห่งชาติ (National Space Data Center : NSDC) เป็นศูนย์ให้บริการข้อมูลด้านอวกาศของประเทศไทย โดยให้บริการในการจัดหาและสนับสนุนข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม รวมถึงข้อมูลด้านอวกาศอื่นๆ เช่น ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีความถูกต้องแม่นยำสูง ทั้งค่าพิกัดตำแหน่ง และค่าระดับ ซึ่ง 1 ในนั่นคือ ข้อมูล Receiver Independent Exchange Format หรือ RINEX ซึ่งใช้ในการเป็นข้อมูลค่าปรับแก้เชิงตำแหน่งรายละเอียด ที่ได้จากสถานีอ้างอิงแบบรับสัญญาณดาวเทียมต่อเนื่องถาวร ในการฝึกอบรมนี้จะได้ศึกษาการใช้ประโยชน์จากข้อมูล NSDC ตัวอย่างการดึงข้อมูล Receiver Independent Exchange Format หรือ RINEX เพื่อใช้ในการเป็นข้อมูลค่าปรับแก้เชิงตำแหน่งรายละเอียด และทดลองรับสัญญาณ GNSS เพื่อกำหนดตำแหน่งแบบเรียลไทม์และแม่นยำระดับเซนติเมตร ได้อย่างง่ายดาย โดยการใช้ระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (Network RTK) [*หมายเหตุ มีการออกพื้นที่เพื่อรับสัญญาณด้านนอกอาคาร]

 

12:00 am
รับประทานอาหารกลางวัน
FOSS4G Thailand Team

รับประทานอาหารกลางวัน จัดเตรียมโดยผู้จัดงาน

13:00 pm
WS10 : Web GIS in a Nutshell
ณัฐพล จันทร์สุริ , Head of Application Development, i-bitz company limited

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 20 คน

วิทยากร :ณัฐพล จันทร์สุริ , Head of Application Development, i-bitz company limited

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัว มีความคุ้นเคยภาษา Javascript

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : NodeJS

เนื้อหาการอบรม :

สร้างข้อมูล GIS(Vector) บน Web Brownser ในรูปแบบ GeoJSON อย่างง่าย และสามารถดาวน์โหลดข้อมูลลงมาเก็บไว้ในเครื่องได้ รวมไปถึงการสร้าง Function พื้นฐานที่มักจะถูกใช้บ่อยๆ ในงาน Web mapping อาทิ เช่น การเปลี่ยน Basemap, วัดระยะ/ขนาดพื้นที่, ปรับ Zoom ตามมาตราส่วน เป็นต้น ผลลัพธ์สุดท้ายของการอบรมได้รับแรงบัลดาลใจมาจาก GeoJson.io แต่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่บน open source map library(MaplibreGL) ที่อยู่บนพื้นฐานของ NextJS framework ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้จากการอบรมนี้ไปต่อยอดการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ Web Mapping

180 Minute Meeting Room 5, อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
16:00 pm
WS16 : QGIS and Realtime data displaying
ดร.ศักดิ์พจน์ ทองเลี่ยมนาค วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 20 คน

วิทยากร :ดร.ศักดิ์พจน์ ทองเลี่ยมนาค วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัว

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : QGIS, PostGIS

เนื้อหาการอบรม :

QGIS เป็นโปรแกรม Open Source ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ในงานด้านภูมิสารสนเทศ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ด้วย QGIS จะเป็นข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมมาก่อนแล้วล่วงหน้า ในการสัมมนานี้ จะแนะนำการใช้งาน QGIS ในเบื้องต้นสำหรับการแสดงผลข้อมูลเวลาจริง (Real-time) หรือใกล้เวลาจริง (Near Real-time) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและต้องการแสดงผลในทันที เช่น ข้อมูลตำแหน่งรถโดยสารภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น โดยจะนำข้อมูลเข้าสู่ QGIS โดยผ่านระบบฐานข้อมูล PostGIS และ PostgreSQL

 

Workshop Track F


at Beegins Room
07:30 am
Registration
FOSS4G Thailand Team

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Workshop

09:00 am
WS05 : OGC API - Features with PygeoAPI
ศตวรรษ อาหรับ , Head of Geoinformatics, i-bitz company limited

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 15 คน

วิทยากร : ศตวรรษ อาหรับ, Head of Geoinformatics, i-bitz company limited

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัวพร้อมเน็ต ติดตั้ง Python เวอร์ชั่นมากกว่า 3.0 , ติดตั้ง PygeoAPI , Visual Studio Code , ผู้เข้าอบรมต้องมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการให้บริการข้อมูลภูมิศาสตร์ ผ่าน Services ต่าง ๆ

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : Python , Visual Studio Code

เนื้อหาการอบรม :

ปัจจุบันการให้บริการ Services ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีไปมาก มาตรฐานของ OGC APIs เข้ามาควบคุมทำให้การทำงานจึงเป็นระบบสามารถแลกเปลี่ยนการใช้งานกับศาสตร์อื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี และการตามเทคโนโลยีให้ทันมีความจำเป็นอย่างมาก ผู้เข้าอบรมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับ OGC API - Features ที่มีความสำคัญต่อนักภูมิสารสนเทศ รวมถึงมาตรฐานการใช้งานและการพัฒนา OGC API – Features โดยการอบรมนี้จะเน้นให้เห็นถึงความสามารถของการใช้งานและการให้บริการข้อมูลของ OGC API - Features โดยจะได้เห็นถึงตัวอย่างการใช้งาน ผ่านตัว OGC API – Features ที่ให้บริการโดย OSGEO TH และการใช้งานผ่านตัว Pygeo API ซึ่งทั้ง 2 ตัวเป็น ซอฟต์แวร์และการให้บริการฟรีไม่มีค่าใช้สำหรับการใช้งาน OGC API - Features

12:00 am
รับประทานอาหารกลางวัน
FOSS4G Thailand Team

รับประทานอาหารกลางวัน จัดเตรียมโดยผู้จัดงาน

13:00 pm
WS11 : JSON Style for beautiful Maps
ณัฐปคัลภ์ มณีรัตน์ , GIS Analyst, i-bitz company limited

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 15 คน

วิทยากร :ณัฐปคัลภ์ มณีรัตน์, GIS Analyst, i-bitz company limited

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : 1.โน้ตบุ๊คส่วนตัว 2.ศึกษาโครงสร้างของ format JSON 3.ข้อมูลพื้นฐานของ OSM

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : Maputnik, ติดตั้ง Visual Studio Code

เนื้อหาการอบรม :

ออกแบบแผนที่ง่าย ๆ โดยใช้โปรแกรม Maputnik ปรับแต่งสัญลักษณ์รูปแบบสีของแผนที่ตามที่เราต้องการ และ Maputnik ทำให้การออกแบบแผนที่ได้เร็วกว่าวิธีเดิมและรองรับการทำงานที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการแสดงผล

180 Minute Beegins, อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
16:00 pm
WS17 : Spatial Temporal Asset Catalog Specification
สิริญา แสนคำอ้อ / อทิตยา พันขันธ์ , GIS Backend Developer, i-bitz company limited

จำนวน : ผู้เข้าร่วม ไม่เกิน 20 คน

วิทยากร :

  • สิริญา แสนคำอ้อ, GIS Backend Developer, i-bitz company limited
  • อทิตยา พันขันธ์, Backend Engineer, i-bitz company limited

ส่งที่เตรียมมาก่อน(ถ้ามี) : โน้ตบุ๊คส่วนตัว, ปลั๊กพ่วง

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : STAC Specification, GISTDA Disaster Platform

เนื้อหาการอบรม :

เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลข้อมูลเชิงพื้นที่ที่นำเสนอถึงปรากฏการณ์บนโลกนี้เกิดขึ้นมาทุกเวลา เช่น ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติที่มีการส่งภาพถ่ายทางดาวเทียมมายังพื้นโลกในทุก ๆ วัน หรือ เครื่องมือตรวจวัดตามจุดต่าง ๆ ที่มีการเก็บข้อมูลทุก ๆ นาที หรือทุก ๆ ชั่วโมง โดยข้อมูลเหล่านั้นก็สามารถมีได้หลายมิติ และรูปแบบที่สนใจ แต่การที่ข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้ถูกจัดทำเป็นแค็ตตาล็อก ทำให้การเข้าถึง และค้นหาในภายหลังเป็นไปอย่างยุ่งยาก Spatial Temporal Asset Catalog (STAC) จึงเข้ามาช่วยในการจัดทำแค็ตตาล็อกของข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสินทรัพย์ที่ถูกจัดเก็บอยู่ในแหล่งข้อมูล โดยในเวิร์คชอปนี้ผู้ที่เข้ารับการอบรมจะได้รู้จักกับ STAC และประโยชน์ของการนำไปใช้งาน กรณีศึกษาจากตัวอย่างที่ยกมาอธิบาย รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนา

90 Minute Beegins, อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
18:00 pm
Gala Dinner at Smile Waterside Restaurant
FOSS4G Thailand Team

FOSS4G Gala Dinner at Smile Waterside Restaurant

Gala Dinner at Smile Waterside Restaurant พบปะพูดคุยกันเพื่อสร้างเครือข่ายสังคมเชิงบวกให้กับชุมชนนักพัฒนา และร่วมกันแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น สร้างโอกาสและไอเดียใหม่ๆ ที่ร้านสีนานวล คาเฟ่ ร้านอาหารไทยโบราณขอนแก่นกังสดาล อาหารไทยอร่อยๆ บรรยากาศดี มีดนตรีสด  ภายในงานเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราใกล้ชิดกันมากขึ้น OSGeo Thailand อยากให้ทุกคนมาทำความรู้จักกันในคืนวันที่ 26 พฤศจิกายน ที่ร้าน Smile Waterside Restaurant คาเฟ่
รูปแบบของงาน
  • เป้าหมายเพื่อพบปะ พูดคุย ประสาผู้ใช้งาน ผู้พัฒนา GIS Open Source ในประเทศ
  • อาหารและเครื่องดื่มผู้จัดงานได้เตรียมให้แก่ผู้เข้างาน
  • จะต้องซื้อบัตรเข้างานรับประทานอาหาร ที่นี่
แล้วเราจะเจอใครบ้างในงานคืนนั้น
  • ทีมงาน OSGeo Thailand, OSGeo Japan, OSGeo Korea
  • วิทยากร และ ผู้บรรยายใน Workshop
  • และคุณ ที่เราอยากพบเจอ และแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน เพื่อช่วยวางแนวทางของ OSGeo Thailand ต่อไป

08:30 am
Registration

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม การแข่งขันประกวด

09:00 am
Geospatial Metaverse Code Sprint : Metaverse Thailand
Metaverse Thailand Developer Team
09:00 am

เอกสารหลักการและเหตุผลของการจัดงาน รวมไปถึงตารางกิจกรรม และข้อมูลต่าง

ดำเนินการและได้รับการสนับสนุนจาก
Sponso
Sponso
Sponso
Sponso
Sponso
Sponso
Village Sponsor
Sponso
Sponso
Sponso
Hamlet Package
Sponso
Sponso
Sponso
Shelter Package
Sponso
Sponso
Sponso
Media Partner
Sponso

มาร่วมเป็นผู้สนับสนุน OSGeo Thailand และ FOSS4G Thailand ได้ที่ link นี้

OSGeo Thailand Chapter

OSGeo in Thailand aim to promote, distribute and develop free open source program for Geoinformatics in order to create the use for country development in many ways
contact : [email protected]

Contact & Support

i-bitz company limited (Headquarter)
Capital Mansion Executive Living Suites
1371 Phaholyothin Rd. Phayathai, Bangkok 10400 Thailand
Contact : +662 278 7913
E-mail : [email protected]
Operation : Monday - Friday 09:00 - 17:00 (UTC+7)

Venues Area

Khon Kaen University Science Park
Khon Kaen University Science Park,
123 Moo 16, Kalapapruek Rd, Mueang Khon Kaen District, Khon Kaen 40002
Operation : Monday - Friday 09:00 - 17:00 (UTC+7)