Logo Story & Concept
เรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของสัญลักษณ์ประจำงาน

“Create open source to make strong community in the local”

แนวคิดการออกแบบ ปี 2022

“แคน มัด หมี่” แนวคิดในการออกแบบนั้นมาจากการผสมผสานธีมของงาน “Open Data for Everyone Accessible” ความเป็นอีสานของจังหวัดขอนแก่น และความเป็นประเทศไทย

แคน มัด และ หมี่
“แคน” นั้นเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของอีสาน เป็นหนึ่งในลายผ้ามัดหมี่ประจำจังหวัดขอนแก่น คือ ลายแคนแก่นคูณ
สัญลักษณ์แคนนั้นถูกออกแบบโดยการถอด Metapattern มาจากลวดลายการทอผ้ามัดหมี่ 2 ตะกอ ที่ลักษณะทอเป็นเส้นตรงยาว มีขนาดความกว้างเท่า ๆ กันต่อกัน และสีของลายผ้าจะเชื่อมกันแบบกลมกลืน จึงออกแบบให้สัญลักษณ์แคนนั้นเป็นเส้นตรง 3 เส้น ปลายแคนแหลม โดยให้แคนสีน้ำตาล-ส้ม เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ และความสร้างสรรค์ ที่ถูกแต้มสีสัน เสมือนแต้มลายหมี่ลงบนเส้นไหม เส้นไหมนั้นก็เปรียบเสมือน Open Source Data หลายร้อยเส้นที่ถูก “มัด” ด้วย Ribbon อันเป็นตัวแทนของ FOSS4G ที่มัดรวมแหล่ง Open Source Data มัดรวมผู้สร้าง
ผู้ใช้งาน และผู้พัฒนา เพื่อ“หมี่” หรือ มาออกแบบลวดลาย สร้างสรรค์ให้กลายเป็นเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ ๆ โดยพวกเราผู้สร้าง และผู้พัฒนา ส่วนสัญลักษณ์แคน สีคราม เป็นตัวแทนของคนรุ่นก่อน ความเชี่ยวชาญ และความรู้ จัดวางซ้อนอยู่ด้านหลัง เปรียบเหมือนการสนับสนุนคนรุ่นใหม่อยู่ด้านหลัง และร่วมถักทอร้อยเรียงเป็นผืนเดียวกัน หรือสร้างชุมชนนักพัฒนาร่วมด้วยกัน

ชุดสีประจำงาน
“ชุดสี” ได้รับแรงบันดาลใจจากสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับผ้ามัดหมี่ จึงกำหนดชุดสีที่มาจากธรรมชาติ และการย้อมสีของผ้ามัดหมี่

 

Designer: Junior Kodchakorn

FOSS4G’s LOGO see also..
https://foss4g.org/
https://www.osgeo.org/history/events-history/

แนวคิดในปี 2019

“เรือ” กำหนดเป็นตัวแทนของ “Free and Open Source Software” คีย์หลักของการประชุมครั้งนี้ ซึ่งมากหมายหลายหลายที่มาช่วยสร้างเสริมประสิทธิภาพและช่วยขับเคลื่อน “คน” และ “ข้อมูลเชิงพื้นที่” ไปสู่ถึงจุดหมายที่ต้องการ

“สายน้ำ” เราให้เป็นตัวแทนของ “ข้อมูล” ซึ่งเป็นกระแสไหลเวียนอยู่รอบตัวเรา เปรียบเสมือนสายน้ำสายเล็กๆ ห้วย หนอง คลอง บึง ค่อยๆไหลรวมบรรจบจนกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่ และไหลรวมกันเป็นมหาสมุทร (Ocean Data) ที่เชื่อมโยงเราเข้าด้วย

ถ้าลองสังเกตให้ดีทุกคนจะเห็นว่า “คนพายเรือ” ตัวเลข “4 (for)” และ “สายน้ำ” เราตั้งใจเลือกให้เป็นสีแดง
เพราะ 3 สิ่งนี้ต้องไปพร้อมๆกัน ข้อมูลที่ดีจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาด “คน” หมายถึง พวกเราทุกคน ช่วยกันขับเคลื่อนและทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น

“PEOPLE for DATA”
พวกเรา คือ ผู้สร้าง ผู้ใช้งาน และผู้ช่วยกันพัฒนา

“ชุดสี” แบบไทยๆ ในปีนี้เน้นสีแดงและสีเขียว
มาจากชุดสี “THAITONE” เกิดจากงานวิจัยของอาจารย์ไพโรจน์ ทิพยเมธี ที่ได้ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลสีไทยจากวรรณกรรม บทประพันธ์ วัฒนธรรม และความเชื่อในสมัยก่อน รวมถึงภูมิปัญญาช่างศิลป์ของไทยที่สรรหาสีจากธรรมชาติ นำมาสกัด คัดแยกสี ผสมกันเพื่อให้ได้สีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนกำหนดรหัสชุดสีมาตรฐานและชื่อสีไทยโดยเทียบเคียงกับธรรมชาติ
©2017 THAITONE™

Designer: Min Suttikarn

แนวคิดในปี 2018

เริ่มต้นจากคำว่า “FOSS4G” ลองสังเกตที่มุมล่างซ้ายของโลโก้ เราจะพบสัญลักษณ์ที่เรียกว่า “Ribbon” อยู่ในโลโก้ของงาน FOSS4G ทุกงาน โดย “Ribbon” นี้หมายถึง “flow of ideas and innovation, and sharing within the Open Source geospatial community” อันเป็นตัวแทนของคำว่า “FOSS4G”

ต่อมาคือคำว่า “Thailand” เดิมทีเดียวเราอยากใช้คำว่า“Bangkok” เพราะการสัมมนาครั้งนี้เป็นระดับท้องถิ่น แต่หลังจากคิดกันอยู่พักใหญ่จึงมาลงตัวกันที่ “Thailand” น่าจะเหมาะสมกว่า เราคงไม่อยากจำกัดแค่เพียงกลุ่มคนในกรุงเทพฯ แต่อยาเชิญชวนนักคิดนักพัฒนาด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจากทั่วไปประเทศมาร่วมงานนี้ ดังนั้นสิ่งแรกที่นึกถึง คือ ลายกนก / ลายไทย หลังจากร่างแบบมากว่า 10 แบบ จึงมาลงตัวกันที่เลือก “พระปรางค์วัดอรุณฯ เสาชิงช้า ยักษ์วัดแจ้ง เส้นแนวตึก และดอกบัว” ซึ่งรวมเอาทั้งเส้นลายไทยตามความตั้งใจ บวกกับความสมัยใหม่ของเส้นแนวตึกสูงที่เห็นในปัจจุบัน เพื่อแทนของคำว่า “Thailand”

สุดท้าย “สี” เน้นสีเหลืองและสีทองเป็นหลัก

เราเลือกใช้ชุดสีไทยที่เกิดจากงานวิจัยอาจารย์ไพโรจน์ ทิพยเมธี ที่ได้ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลสีไทยจากวรรณกรรม บทประพันธ์ วัฒนธรรม และความเชื่อในสมัยก่อน รวมถึงภูมิปัญญาช่างศิลป์ของไทยที่สรรหาสีจากธรรมชาติ นำมาสกัด คัดแยกสี และบรรจงผสมกันเพื่อให้ได้สีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเรีกชุดสีไทยนี้ว่า “THAITONE” และยังได้กำหนดรหัสชุดสีมาตรฐานและชื่อสีไทยโดยเทียบเคียงกับธรรมชาติ ปัจจุบันสีโทนไทนมีกว่า 168 เฉด

สำหรับชุดสีของโลโก้ FOSS4G Thailand 2018 ได้แก่ “ทอง”, “รงทอง”, “ลูกจันทร์”, “ดอกบวบ”, “ขาวผ่อง” และ “สัมฤทธิ์เดช”
© 2017 THAITONE™

จากแนวคิดตั้งต้นประกอบกับนักดีไซส์ Min Suttikarnเราจึงได้โลโก้สำหรับงานสัมมนาเชิงปฎิบัตการ FOSS4G Thailand 2018 ดังที่เราได้เห็นกันนี้

ข้อมูลเพิ่มเติมชุดสี Thaitone https://www.facebook.com/thaitonecolor/

OSGeo Thailand Chapter

OSGeo in Thailand aim to promote, distribute and develop free open source program for Geoinformatics in order to create the use for country development in many ways
contact : [email protected]

Contact & Support

i-bitz company limited (Headquarter)
Capital Mansion Executive Living Suites
1371 Phaholyothin Rd. Phayathai, Bangkok 10400 Thailand
Contact : +662 278 7913
E-mail : [email protected]
Operation : Monday - Friday 09:00 - 17:00 (UTC+7)

Venues Area

Khon Kaen University Science Park
Khon Kaen University Science Park,
123 Moo 16, Kalapapruek Rd, Mueang Khon Kaen District, Khon Kaen 40002
Operation : Monday - Friday 09:00 - 17:00 (UTC+7)